วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ชนเผ่ากะเหรี่ยง

                                                                               

                                                                                 ชนเผ่ากะเหรี่ยง

                                                                


                คนไทยในภาคกลางจะเรียก “กะเหรี่ยง” พม่าเรียก “กะยิ่น” ภาคเหนือของไทยเรียก “ยาง” บางทีเรียก “กะหร่าง” เดิมอยู่ในดินแดนตะวันออกของธิเบต ต่อมาเข้ามาอยู่ในประเทศจีน ถูกจีนรุกรานจึง ถอยร่นลงมาในเขตพม่า จากพม่ามาอยู่ในประเทศไทยอยู่ตามหุบเขาและแม่น้ำ


กะเหรี่ยงนิยมใช้ผ้าฝ้ายทำเสื้อ ผ้าย้อม และทอเอง ปัจจุบันใช้ด้ายสีเคมีสีฉูดฉาดมา ตกแต่ง ปักด้วยเมล็ดพืชเป็นลวดลายสลับกับด้ายที่มัดเป็นเปลาะ ๆ
ผู้หญิงกะเหรี่ยงที่ยังโสด(เชวา)จะแต่งด้วยผ้าทรงกระสอบสีขาว มีลวดลายแต่งตามตัวเล็กน้อย บริเวณหน้าอกมีลายแดงทำเป็นชายครุย หญิงแต่งงานแล้วจะใส่ผ้าถุงสีแดงมีลายขวางตามตัว ซิ่นเป็นเส้นสีดำ ฟ้า น้ำตาล ส่วนเสื้อท่อนบนจะแต่งตามเผ่าหญิงทุกวัยที่ยังไม่ได้แต่งงาน ต้องสวมชุดยาวสีขาว (เชวา) เมื่อแต่งงานแล้วจะต้องเปลี่ยนมาเป็นสวมใส่เสื้อสีดำ หรือที่เรียกว่า "เช โม่ ซู" และผ้าถุงคนละท่อนเท่านั้น ห้ามกลับไปสวมใส่ชุดยาวสีขาวอีก ส่วนผู้ชายทั้งกลุ่มโป และสะกอแถบภาคเหนือมักสวมกางเกงสีดำ และสีน้ำเงิน หรือกรมท่า ในขณะที่แถบจังหวัดตาก และอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มักสวมโสร่ง ลักษณะเสื้อผู้ชายวัยหนุ่มใช้สีแดงทุกกลุ่ม แต่มีลวดลายมากน้อยต่างกัน การแต่งกายในโอกาสพิเศษ เช่น พิธีปีใหม่ พิธีแต่งงาน เน้นสวมใส่เสื้อผ้าใหม่ จะเห็นชัดว่าชายหนุ่ม และหญิงสาวจะพิถีพิถันแต่งกายสวยงามเป็นพิเศษ




การแต่งกายของผู้หญิงกะเหรี่ยงที่ยังโสด(เชวา)
จะแต่งด้วยผ้าทรงกระสอบสีขาว มีลวดลายแต่งตามตัวเล็กน้อย บริเวณหน้าอกมีลายแดงทำเป็นชายครุย


                                     







การแต่งกายของผู้หญิงกะเหรี่ยงที่แต่งงานแล้ว(เชโม่ซู)
จะใส่ผ้าถุงสีแดงมีลายขวางตามตัว ซิ่นเป็นเส้นสีดำ ฟ้า น้ำตาล ส่วนเสื้อท่อนบนจะแต่งตามเผ่า




                                     ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การแต่งกาย กะเหรี่ยง






การแต่งกายของผู้ชายกะเหรี่ยง
ลักษณะเสื้อผู้ชายวัยหนุ่มใช้สีแดงทุกกลุ่ม แต่มีลวดลายมากน้อยต่างกัน




                                         ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การแต่งกาย กะเหรี่ยง







                                                                    ประวัติความเป็นมาของชนเผ่ากะเหรี่ยง
                                           
            กะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่จัดได้ว่ามีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา มีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น กะเหรี่ยง มีถิ่นฐานตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า แต่หลังจากถูกรุกรานจากสงคราม จึงมีกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทย 
          กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กะเหรี่ยงสะกอ หรือที่เรียกนามตัวเองว่า ปากะญอ หมายถึงคน หรือมนุษย์นั้นเอง กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยมีมิชชันนารีเป็นผู้คิดค้นดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมภาษาโรมัน กลุ่มนี้หันมานับถือศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่ กะเหรี่ยงโปร์นั้นเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างเคร่งครัดในประเพณี พบมากที่ อำเภอ แม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอ อมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และแถบตะวันตกของประเทศไทย คือ กะเหรี่ยงบเว พบที่ อำเภอ ขุนยวม แม่ฮ่องสอน ส่วนปะโอ หรือตองสูก็มีอยู่บ้าง แต่พบน้อยมากในประเทศไทย 
ชนเผ่า "ปกากะญอ" เป็นชนเผ่าที่บอกกล่าวถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมานับร้อยนับพันเรื่อง เรียงร้อยเก็บไว้ในเเนวของนิทาน อาจจะไม่ใช่หลักฐานที่เเน่ชัด เเต่ก็พยายามที่จะเล่าสืบทอดให้ลูกหลานได้รู้ ถึงความเป็นมาของเผ่าพันธุ์ และวัฒนธรรมของตัวเอง เล่ากันตั้งแต่สมัยที่พระเจ้าสร้างโลก พระองค์ได้สร้างมนุษย์ คู่แรก คือ อดัม กับเอวา ทั้งสองคนได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสวน (เอเดน) ที่พระองค์ได้สร้างไว้ ทั้งสองได้ทำ ผิดกฎ ของสวรรค์ จึงถูกเนรเทศลงมาใช้กรรมอยู่ในโลกจนกระทั่งมีลูกหลานสืบเชื้อสายมาจนถึงทุกวันนี้


ตำนาน
ที่ตั้งของชนเผ่ากะเหรี่ยง ตั้งอยู่ที่ภูเขา "ทอทีปล่อก่อ" มีผู้เฒ่า "เทาะแมป่า" เป็นหัวหน้า หมู่บ้านสืบเชื่อสายมาจนลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง เมื่อที่ทำกินไม่พอเทาะแมป่าจึงพาลูกหลานอพยพย้ายถิ่นฐาน ระหว่างการเดินทางว่ากันว่าเทาะแมป่าเดินเร็วมากลูกหลานพากันหยุดพัก เทาะแมป่าไม่สนใจลูกหลาน พยายามที่จะเดินไปข้างหน้าเรื่อยๆ จนมาหยุดตามที่ต่างๆ แถบแถวลุ่มน้ำสาละวินบ้าง ลุ่มน้ำอิระวดีบ้าง กระทั้งสืบเชื้อสายเผ่าพันธุ์ จนมาถึงทุกวันนี้มีกะเหรี่ยง อาศัยอยู่กระจัดกระจาย ทั่วไปในเขตพม่า ตลอดจนในเขตภาคเหนือ และตะวันออกของประเทศไทย เอกสารบางชนิดระบุว่าคนกระเหรี่ยงอาศัยอยู่ในตะวันออกเฉียงไต้ของประเทศจีน เมื่อถูกขับไล่หนี ลงมาตั้งหลักในระว่างกลางเขตพม่ากับมอญ ตอนหลังถูกพม่าบีบ ต้องอพยพอยู่บนภูเขา เอกสารบางชิ้นระบุว่าคนกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยล้วนมาจากพม่าทั้งสิ้น เพียงแต่ ไม่มีเอกสารยืนยันว่าเข้ามาอยู่เมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย บ้างก็ว่าในดินแดนล้านนา หรือก่อนโยนกด้วยซ้ำ นั้นหมายถึงการกำเนิดเมืองเชียงใหม่


การย้ายถิ่นฐาน
จากคำบอกกล่าวของ "พือ มูล บุญเป็ง" คนเฒ่า คนแก่ ได้กล่าว เล่าความเป็นมาของกะเหรี่ยงในประเทศไทย พื้นที่หลักที่กะเหรี่ยง (ปกากะญอ) อาศัยอยู่ครั้งเเรกคือ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ โดยยึดอาชีพเกษตรกรรม ในการหาเลี้ยงชีพ ต่อมาในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลไทยได้เปิดโอกาสให้บริษัทต่างชาติประมูล โครงการทำป่าสัมปทาน ณ.ตำบลแม่ยาว จังหวัดเชียงราย โดยบริษัทที่ชนะการประมูล จะได้กรรมสิทธิ์การทำธุรกิจขนส่งไม้ จากตำบล แม่ยาว ออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งในขณะนั้น บริษัทจากประเทศฝรั่งเศส หรือที่ชาวกระเหรี่ยงเรียกกันว่า บริษัท "ห้าง โบ๋ เบ๋" ได้กรรมสิทธิ์ในการทำธุรกิจสัมปทานในครั้งนั้นไป "พือ มูล บุญเป็ง" เล่าต่อว่าหลังจากที่ "ห้างโบ๋ เบ๋" เข้ามาทำธุรกิจในเมืองไทย ปัญหาแรกที่พบคือการสื่อสาร และการทำสัมปทานไม้ในสมัยนั้น จำเป็นต้องมี ช้างควานช้างในการลากไม้ซุง หลังจากเสร็จสัมปทาน กะเหรี่ยง (ปกากะญอ) ส่วนหนึ่งได้ตั้งหลักปักฐานอยู่บ้านน้ำลัด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยเห็นว่าเป็นที่เหมาะแก่การทำการเกษตร ได้ใช้ชีวิตมาจนกระทั่งสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงทำสงครามกะเหรี่ยงได้ร่วมมือกับทหารไทย โดยใช้ช้างเป็นพาหนะ ในการลำเลียง สิ่งของ เสบียง อาหาร ให้กับทหารไทยในการรบครั้งนั้น หลังสงครามมีชนพื้นเมืองย้ายถิ่นฐานกลับมามากขึ้น ทำให้ที่คับแคบแออัดขัดแย้งที่ทำมาหากิน กะเหรี่ยงส่วนหนึ่งจึงตัดสินใจออกเดินทางอีกครั้ง
                                                                             http://www.openbase.in.th/node/648


ภาษา

กะเหรี่ยงแต่ละเผ่ามีภาษาพูด และภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยการดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมอักษรโรมัน

ลักษณะบ้านเรือน

นิยมสร้างเป็นบ้านยกพื้นสูง มีชานบ้าน บางส่วนก็ตั้งบ้านเรือนบนที่ราบเช่นเดียวกับชาวพื้นราบทั่วไป ชาวะเหรี่ยงตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งถาวร ไม่ย้ายถิ่นบ่อยๆ

การแต่งกาย

กะเหรี่ยงทอผ้าจนเป็นวัฒนธรรมประจำเผ่า เสื้อเด็กและหญิงสาวจะเป็นชุดทรงกระสอบ ผ้าฝ้ายพื้นขาว ทอหรือปักประดับลวดลายให้งดงาม ส่วนหญิงที่มีครอบครัวแล้วจะสวมเสื้อสีดำ น้ำเงิน และผ้านุ่งสีแดงคนละท่อน ตกแต่งด้วยลูกเดือย หรือทอยกดอก ยกลาย สำหรับผู้ชายกะเหรี่ยงนั้นส่วนมากจะสวมเสื้อตัวยาวถึงสะโพก ตัวเสื้อจะมีการตกแต่งด้วยแถบสีไม่มีการปักประดับเหมือนเสื้อผู้หญิง นุ่งกางเกงสะดอ นิยมใช้สร้อยลูกปัดเป็นเครื่องประดับ และสวมกำไลเงินหรือตุ้มหู



เครื่องดนตรี

“ เตหน่า ” เป็นเครื่องดนตรีของชนเผ่ากะะเหรี่ยง ทำด้วยไม้อ่อนเหลา และกลึงให้เป็นรูปเหมือนกล่องรูปทรงรี มีก้านยาวโก่งและโค้งสูงขึ้นไป ที่ตัวจะเจาะรูเป็นโพรงปิดด้วยโลหะบาง ๆ สายทำด้วยเส้นลวดมีสายตั้งแต่ 6 – 9 สาย เตหน่า ใช้สำหรับดีดและร้องเพลงประกอบ ใช้ในโอกาสมีเวลาว่างและเพื่อความสนุกสนาน โดยเฉพาะหนุ่มชาวปกาเกอะญอจะใช้เตหน่าในการเกี้ยวพาราสีหญิงสาวในยามค่ำคืน

วัฒนธรรมประเพณี

ชาวกะเหรี่ยงมีประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการ ทำพิธีกรรมเลี้ยงผี บวงสรวงดวงวิญญาณ ด้วยการต้มเหล้า ฆ่าไก่ - แกง และมัดมือผู้ร่วมพิธีด้วยฝ้ายดิบ ซึ่งเกี่ยวโยงกัน

ประเพณีปีใหม่ โดยหัวหน้าหมู่บ้านจะเป็นผู้ระบุวันล่วงหน้า แต่ละหมู่บ้านจะมีปีใหม่ แต่ละปีไม่ตรงกัน เพราะเป็นพิธีที่หมายถึงการเริ่มต้นของฤดูกาลการเกษตร และอยู่เย็นเป็นสุข

ประเพณีแต่งงาน ผู้หญิงจะเป็นผู้เลือกคู่ครองเอง เจ้าสาวจะต้องทอเสื้อผ้า กางเกง ย่ามไว้ให้เจ้าบ่าว ทั้งเจ้าบ่าวเจ้าสาวต้องฆ่าหมูฆ่าไก่เพื่อทำพิธีกรรมบอกต่อผีบรรพบุรุษและเป็นอาหารเลี้ยงแขก แต่งงานแล้วฝ่ายชายต้องมาอยู่บ้านฝ่ายหญิง 1 ฤดูเก็บเกี่ยว ก่อนแยกไปปลูกบ้านใกล้กัน


ศาสนา

ความเชื่อและพิธีกรรม เดิมชาวกะเหรี่ยงนับถือผีมีการบวงสรวงและเซ่นสังเวยอย่างเคร่งครัด ภายหลังหันมานับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์มากขึ้น แต่ก็ยังคงความเชื่อเดิมอยู่ไม่น้อย เช่น ความเชื่อเรื่องขวัญหรือการทำกิจกรรมต่างๆ จะต้องมีการเซ่น เจ้าที่เจ้าทาง และบอกกล่าวบรรพชน ให้อุดหนุนค้ำจูน ช่วยให้กิจการงานนั้นๆ เจริญก้าวหน้า ทำเกษตรกรรมได้ผลผลิตดี ให้อยู่เย็นเป็นสุข ปกป้องคุ้มครองดูแล และยังเป็นการขอขมาต่อท่าน

ชนเผ่ากะเหรี่ยงที่อาศัยในพื้นที่ปฏิบัติงานโครงการหลวง ได้แก่ วัดจันทร์ พระบาทห้วยต้ม แม่ทาเหนือ ขุนแปะ อินทนนท์ ขุนวาง ทุ่งหลวง แม่แฮ แม่สะป๊อก

                                                                                http://www.royalprojectthailand.com/karen